ตอนสัมภาษณ์นายจ้างแจ้งว่าหากลาออกล่วงหน้า 30 วันจะได้เงินประกันจำนวน 4,000 บาท แต่ไม่ได้โดนหักในเงินเดือนแต่ละเดือน ตอนแจ้งลาออกจริงวันที่ 1 พย 66 HR แจ้งว่ายังคำนวนเงินประกันให้ไม่ได้ต้องรอจ่ายเงินเดือนงวดสุดท้ายหมดก่อนถึงจะได้เงินประกัน ตอนแรกสอบถามแล้ว HRแจ้งว่าจะมี E-mail แจ้งเงินประกัน เงินเดือนงวดสุดท้ายได้วันที่ 30 ธค 66 ก็เข้าใจว่าเดือนมค67 จะได้เงินประกันแต่ไม่มีอีเมลแจ้งและเดือนมค67 ไม่มีเงินประกันเข้า จึงไปสอบถามเขาแจ้งกลับมาว่าปกติเงินประกันจะได้หลังจากเงินเดือนงวดสุดท้ายภายใน 3 เดือน หรือ 6 เดือน อยากทราบว่าประเด็นตรงนี้จะได้เงินประกันไหมหรือสามารถทำอะไรได้บ้างคะตอนแรกบอกได้เงินประกัน 4,000 บาทตอนหลังบอกยังไม่ได้คำนวนก็เท่ากับว่าจะไม่ได้ตามจำนวนที่เขาแจ้งไว้

จาก
Kaykan

labourqa

เรียนคุณ Kaykan ตามที่ท่านปรึกษาว่า “ตอนสัมภาษณ์นายจ้างแจ้งว่าหากลาออกล่วงหน้า 30 วันจะได้เงินประกันจำนวน 4,000 บาท แต่ไม่ได้โดนหักในเงินเดือนแต่ละเดือน ตอนแจ้งลาออกจริงวันที่ 1 พย 66 HR แจ้งว่ายังคำนวนเงินประกันให้ไม่ได้ต้องรอจ่ายเงินเดือนงวดสุดท้ายหมดก่อนถึงจะได้เงินประกัน ตอนแรกสอบถามแล้ว HRแจ้งว่าจะมี E-mail แจ้งเงินประกัน เงินเดือนงวดสุดท้ายได้วันที่ 30 ธค 66 ก็เข้าใจว่าเดือนมค67 จะได้เงินประกันแต่ไม่มีอีเมลแจ้งและเดือนมค67 ไม่มีเงินประกันเข้า จึงไปสอบถามเขาแจ้งกลับมาว่าปกติเงินประกันจะได้หลังจากเงินเดือนงวดสุดท้ายภายใน 3 เดือน หรือ 6 เดือน อยากทราบว่าประเด็นตรงนี้จะได้เงินประกันไหมหรือสามารถทำอะไรได้บ้างคะตอนแรกบอกได้เงินประกัน 4,000 บาทตอนหลังบอกยังไม่ได้คำนวนก็เท่ากับว่าจะไม่ได้ตามจำนวนที่เขาแจ้งไว้” นั้น กรณีนี้ต้องดูว่าเงินที่ได้จ้างหักไว้นั้นเป็นเงินค่าจ้างใช่หรือไม่ และตกลงหักเพื่อชำระเป็นหลักประกันการทำงานที่เป็นเงินสดหรือประกันความเสียหาย เมื่อใช่ตามนี้ต้องย้อนกลับไปดูว่าลูกจ้างทำงานตำแหน่งอะไร นายจ้างสามารถเรียกรับหลักประกันฯ นั้นได้หรือไม่ ถ้าเป็นตำแหน่งที่เรียกรับได้เมื่อลูกจ้างลาออกนายจ้างมีหน้าที่คืนหลักประกันนั้นให้ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พ้นจากการเป็นลูกจ้าง หากเลยระยะเวลาที่กำหนดลูกจ้างมีสิทธิร้องดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดชำระร้อยละ 15 ต่อปีได้ หรือกรณีที่เป็นตำแหน่งที่ไม่มีสิทธิเรียกรับ ลูกจ้างต้องยืนคำร้องนายจ้างหักค่าจ้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ม.76 พร้อมด้อกเบี้ยฯ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ท่านยื่นคำร้องทุกข์ คร.7 ผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลยครับ ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการให้

ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน