รบกวนสอบถามคะ
พอดีทางบริษัทเรามีแผนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นที่ กทม ตอนนี้อยู่ในกระบวนการปรึกษาหารือรายละเอียดกันอยู่ ซึ่งบริษัทในเครือเป็นของประเทศญี่ปุ่น
ทีนี้เขากำลังคิดเรื่องปฎิทินวันหยุดของพนักงานคะ โดยทางบริษัทแม่เสนอใช้ปฎิทินวันหยุดตามประเทศญี่ปุ่นโดยตรง เพื่อสะดวกต่อการทำงานร่วม
เลยจะสอบถามทางกระทรวงคะว่า ทางเราสามารถอิงวันหยุดตามประเทศญี่ปุ่นได้มั้ยคะ ?
จะผิดกฎระเบียบแรงงานมั้ย?
ถ้าผิดทางเราจะได้แจ้งนายไปคะว่าจำเป็นต้องอิงตามวันหยุดในไทยเท่านั้น
รบกวนด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ

จาก
ืีnutcharut

labourqa

เรียน คุณ nutcharut ตามทีท่านปรึกษามาว่า  “รบกวนสอบถามคะ พอดีทางบริษัทเรามีแผนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นที่ กทม ตอนนี้อยู่ในกระบวนการปรึกษาหารือรายละเอียดกันอยู่ ซึ่งบริษัทในเครือเป็นของประเทศญี่ปุ่น

ทีนี้เขากำลังคิดเรื่องปฎิทินวันหยุดของพนักงานคะ โดยทางบริษัทแม่เสนอใช้ปฎิทินวันหยุดตามประเทศญี่ปุ่นโดยตรง เพื่อสะดวกต่อการทำงานร่วม เลยจะสอบถามทางกระทรวงคะว่า ทางเราสามารถอิงวันหยุดตามประเทศญี่ปุ่นได้มั้ยคะ ? จะผิดกฎระเบียบแรงงานมั้ย? ถ้าผิดทางเราจะได้แจ้งนายไปคะว่าจำเป็นต้องอิงตามวันหยุดในไทยเท่านั้น รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ” นั้น ตามพระราชบัญญัติคุม้ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 

กำหนดวันหยุดดังนี้

มาตรา ๒๘ ให้นานจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน

 

มาตรา ๒๙ ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น

ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป

ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลุกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่า จะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้

 

มาตรา ๓๐ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้

นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆไปได้

สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้

ดังนั้นบริษัทจึงไม่สามารถกำหนดวันหยุดให้ตรงกับประเทศญี่ปุ่น หรือกฎหมายญี่ปุ่นได้ เพราะกฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงนายจ้างจะขัดหรือแย้งไม่ได้