ขออนุญาตสอบถามค่ะ
ทำงานห้างค่ะ
1. บริษัทบังคับให้เข้างาน 10.00น.-21.00น.ทุกวัน (หยุดสัปดาห์ละ1วัน) แต่บริษัทจ่ายค่าโอทีแค่ 1 ชม. โดยบริษัทแจ้งว่าที่เหลือตีเป็นเวลาพัก 2 ชม. อยากสอบถามว่าบริษัททำแบบนี้ถูกต้องมั้ยคะ พอดีว่าสอบถามแบรนด์อื่นบริษัทก็คิดโอทีให้2 ชม. ที่ทำงานเก่าก็คิด2ชม.เหมือนกันค่ะ เลยอยากสอบถามว่าบริษัทสามารถคิดโอทีแค่ชม1ชม.ได้ใช่มั้ยคะและบังคับทำงาน10.00-21.00 ทุกวันได้ใช่มั้ยคะ

2.กรณีขอเข้างานรอบ2 เนื่องจากไปหาหมอ( ไม่ได้หยุดงาน)แต่บริษัทขอใบรับรองแพทย์ และในใบรับรองแพทย์ระบุให้หยุดงานได้1วัน แต่บริษัทแจ้งว่าหาพนง.มาแทนไม่ได้ยังไงก็ต้องมาทำงาน แบบนี้บริษัททำเกินกว่าเหตุมั้ยคะ ในกรณีที่ขอเข้างานรอบ2 ถึงกับต้องใช้ใบรับรองแพทย์

3.ทำงานได้7วันแต่รู้สึกว่าบริษัทนั้นแตกต่างจากบริษัททั่วไปนอกเหนือจากเหตุผลอื่นๆที่กล่าวไปข้างต้น และทราบมาว่าพนง.ลาออกทุกเดือนเลยแจ้งลาออกกะทันหันแต่ ได้เซ็นสัญญากับบริษัทไป ต้องทนทำงานต่ออีก30 วัน กรณีที่เรารู้สึกถูกนายจ้างเอาเปรียบ เราสามารถออกกะทันหันได้เลยมั้ยคะ
ขอบพระคุณค่ะ

จาก
Nampueng

labourqa

เรียนคุณ Nampueng ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “ขออนุญาตสอบถามค่ะ

ทำงานห้างค่ะ

1. บริษัทบังคับให้เข้างาน 10.00น.-21.00น.ทุกวัน (หยุดสัปดาห์ละ1วัน) แต่บริษัทจ่ายค่าโอทีแค่ 1 ชม. โดยบริษัทแจ้งว่าที่เหลือตีเป็นเวลาพัก 2 ชม. อยากสอบถามว่าบริษัททำแบบนี้ถูกต้องมั้ยคะ พอดีว่าสอบถามแบรนด์อื่นบริษัทก็คิดโอทีให้2 ชม. ที่ทำงานเก่าก็คิด2ชม.เหมือนกันค่ะ เลยอยากสอบถามว่าบริษัทสามารถคิดโอทีแค่ชม1ชม.ได้ใช่มั้ยคะและบังคับทำงาน10.00-21.00 ทุกวันได้ใช่มั้ยคะ

 

2.กรณีขอเข้างานรอบ2 เนื่องจากไปหาหมอ( ไม่ได้หยุดงาน)แต่บริษัทขอใบรับรองแพทย์ และในใบรับรองแพทย์ระบุให้หยุดงานได้1วัน แต่บริษัทแจ้งว่าหาพนง.มาแทนไม่ได้ยังไงก็ต้องมาทำงาน แบบนี้บริษัททำเกินกว่าเหตุมั้ยคะ ในกรณีที่ขอเข้างานรอบ2 ถึงกับต้องใช้ใบรับรองแพทย์

 

3.ทำงานได้7วันแต่รู้สึกว่าบริษัทนั้นแตกต่างจากบริษัททั่วไปนอกเหนือจากเหตุผลอื่นๆที่กล่าวไปข้างต้น และทราบมาว่าพนง.ลาออกทุกเดือนเลยแจ้งลาออกกะทันหันแต่ ได้เซ็นสัญญากับบริษัทไป ต้องทนทำงานต่ออีก30 วัน กรณีที่เรารู้สึกถูกนายจ้างเอาเปรียบ เราสามารถออกกะทันหันได้เลยมั้ยคะ

ขอบพระคุณค่ะ” นั้น

 

ข้อที่ 1 นายจ้างกำหนดหนดให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ต้องนับเวลาทั้งหมด 11 ชม. ทำงานมาแล้วติดต่อกัน 5 ชม. นายจ้างต้องจัดเวลาพักระหว่างการทำงาน 1 ชม. เมื่อนายจ้างจัดเช่นนี้จะพบว่าลูกจ้างทำงาน 9 ชม. ซึ่งตามกฎหมายนายจ้างต้องเป็นผู้กำหนดเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้าง วันหนึ่งไม่เกิน 8 ชม. ตามข้อเท็จจริงการทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องเป็นคนสั่ง ลูกจ้างยินยอม และรับเงินค่าล่วงเวลาอัตราตามที่กฎหมายกำหนด คือ 1.5 เท่า (วันทำงานปกติ) หรือ 3 เท่า (วันหยุด) นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลา 1 ชม. อาจชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ได้ ซึ่งต้องมีการพิสูจทางกฎหมายก่อนถึงจะทราบข้อเท็จจริงได้

 

ข้อที่ 2 การของเปลี่ยนกะเข้างานนั้น ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกับนายจ้าง การลาป่วยนายจ้างอาจเรียกใบรับรองแพทย์ได้เมื่อลูกจ้างลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป หากลาป่วยแล้วนายจ้างอนุญาตก็เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และกรณีเรียกให้มาทำงานในวันลานั้นก็ขึ้นอยู่ที่ตกลงกันถ้ามาไหวก็สามารถยกเลิอกการลา ถ้าไม่มาก็ชอบตามสิทธิการลาป่วย

 

ข้อที่ 3 นั้นการเอาเปรียบของนายจ้างนั้นต้องดูว่ากระทำขัดกฎหมายใด ลูกจ้างนายจ้างมีหน้าที่ต้องทราบสิ?ธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายละเมิดซึ่งกันและกัน

ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน