บริษัทกำหนดบริษัทกำหนดทดลองงาน 7 วัน 15 วันและ 3 เดือน กรณีที่เราทำงานผ่านช่วง 7 วัน 15 วัน และทำต่ออีก 1เดือน บริษัทแจ้งว่าไม่ผ่านโปรและให้เขียนใบลาออกก่อน 4 วัน ที่ตัดเดือนนั้น และ ได้เขียนใบลาออกแล้ว กรณีนี้เราสามารถเรียกร้องสิทธิ์ชดเชยค่าตกใจได้มั้ยคะ

จาก
พนักงาน

labourqa

การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน
ลูกจ้างสามารถถูกเลิกจ้างได้ในช่วงทดลองงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ คือ

กรณีที่ 1 : เลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 119

ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและ
ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้งนี้ หากลูกจ้างกระทำผิดตามเหตุที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง แต่ต้องระบุเหตุแห่งการกระทำความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้างด้วย
หากความผิดที่เกิดขึ้นเข้าข่ายตามข้างต้น ไม่ว่าลูกจ้างจะทดลองงานครบหรือไม่ครบ 120 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
กรณีที่ 2 : เลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะการที่ลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่มาจากเรื่องของผลงาน คุณสมบัติ หรือความประพฤติไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยลูกจ้างยังมีอายุงานไม่ครบ 120 วัน ในกรณีนี้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ดังนั้น ถ้าหากเราถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงาน โดยทางหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลไม่ได้บอกกล่าวเราล่วงหน้าก่อนหนึ่งงวดค่าจ้าง เราก็มีสิทธิ์ที่จะได้เงินแทน “ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” โดยนับจากระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่วันที่เราเข้าทำงานมาเป็นลูกจ้าง จนถึงวันที่เราถูกเลิกจ้าง เพื่อมาคำนวณเป็นฐานในการจ่ายค่าชดเชย
ถ้าเหตุแห่งการไม่ผ่านการทดลองงานเกิดจากการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน สามารถเลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม แต่หลักฐานต้องแน่น” ค่ะ

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำงาน ท่านสามารถยื่นเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือติดต่อสอบถาม ขอคำปรึกษาต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่ได้ หรือตามภูมิลำเนา ได้ตามช่องทางดังนี้
1) สายด่วน 1506 กด 3
2) สายด่วน 1546
3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/พื้นที่ที่ท่านทำงานอยู่/ในเขตภูมิลำเนาของท่าน
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 หรือ
4) สามารถยื่นออนไลน์ผ่านระบบ e-service (ยื่นคำร้อง คร.7) ได้ที่ http://eservice.labour.go.th (24 ชั่วโมง) ค่ะ