บริษัทหมดสัญญาจ้างงานโดยมีบริษัทใหม่รับเหมาต่อโดยลูกจ้างไม่ต่อกับบริษัทใหม่....ลูกจ้างจะเรียกร้องอะไรได้บ้างครับ?
โดยบริษัทใหม่ให้เขียนใบลาออกแล้วสมัครงานใหม่โดยให้ค่าแรงขั้นต่ำแต่ลูกจ้างทำงานมา6-10ปี...โดยลูกจ้างไมายินยอนเขียนใบลาออก...ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับสิทธิ์อะไรบ้างครับ?ตามกฎกมายแรงงาน....โดยที่บริษัทว่าจ้างให้บริษัทใหม่แจ้งพนักงานที่ทำงานกับบริษัทเดิมให้ทำงานบริษัทใหม่โดยที่จะไม่ให้สิทธิ์ประโยชน์ใดๆๆกับพนักงานที่ไม่เขียนใบลาออก......ได้หรือไม่ครับ?
จากคนที่ไม่รู้กฎหมายแรงงาน....โดยบริษัทกำลังจะหมดสัญญาจ้างจ้างงาน

จาก
คนไม่รู้กฏหมายแรงงาน

labourqa

การเปลี่ยนแปลงนายจ้างตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่ นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับ นิติบุคคลใด หากมีผลทำให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใดไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอม จากลูกจ้างคนนั้นด้วย และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิม คงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

หากลูกจ้างไม่ยินยอมถือว่านายจ้างเดิม (ลูกจ้างต้องไม่เซ็นยินยอมลาออก)  นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ซึ่งคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้ายตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ดังนี้ 

1. ทำงานครบ 120 วัน - แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน
2. ทำงานครบ 1 ปี - แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน
3. ทำงานครบ 3 ปี - แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 180 วัน
4. ทำงานครบ 6 ปี - แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน
5. ทำงานครบ 10 - แต่ไม่ครบ 20 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน
6. ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 400 วัน

กรณีท่านเป็นลูกจ้าง หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง
1. สายด่วนโทร 1506 กด 3
2. สายด่วน 1546 
3. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน