กรณีผมเป็นพนักงานขับรถส่งสินค้าและขนถ่ายสินค้าแล้วสินค้าเกิดความเสียหายนะหว่างการขนส่งหรือระหว่างการขนถ่าย พนักงานต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นอย่างไร ในกรณีที่บริษัทไม่ได้ระบุใว้แต่แรกว่าพนักงานต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นๆ หากพนักงานขับรถต้องรับผิดชอบบริษัทสามารถหักจากรายได้หรือเงินได้หรือไม

จาก
นายอนันต์ สลักคำ

labourqa

เรียน คุณนายอนันต์ สลักคำ  ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “กรณีผมเป็นพนักงานขับรถส่งสินค้าและขนถ่ายสินค้าแล้วสินค้าเกิดความเสียหายนะหว่างการขนส่งหรือระหว่างการขนถ่าย พนักงานต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นอย่างไร ในกรณีที่บริษัทไม่ได้ระบุใว้แต่แรกว่าพนักงานต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นๆ หากพนักงานขับรถต้องรับผิดชอบบริษัทสามารถหักจากรายได้หรือเงินได้หรือไม่” นั้น

 

นายจ้างต้องดำเนินการสอบสวนลูกจ้างก่อนว่าเป็นความผิดของลูกจ้างจริง ๆ หรือไม่ เมื่อทราบผลแล้วนายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ 

กฎหมาย พรบคุ้มครองแรงงาน 2541

มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

ฯลฯ

(๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

ฯลฯ

การหักตาม (๔) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

 

มาตรา ๗๗ ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ หรือการหักเงินตามมาตรา ๗๖ นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ

 

นายจ้างต้องปฏิบัติดังที่กฎหมายกำหนด ครับ