กรณีตัวอย่าง

1. นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลาทำงานตามปกติ 07.30-16.30 น. โดยกำหนดให้วันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันเสาร์-อาทิตย์

2. หากนายจ้างให้ลูกจ้างมาปฏิบัติงานในวันหยุด เสาร์ หรืออาทิตย์ ในช่วงเวลา 16.30 - 18.30 น. (นอกเวลาทำงานตามปกติ) แต่นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาทำงานในวันหยุดเป็นอัตรา 1 เท่าค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด เนื่องจากนายจ้างกำหนด "ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ" ก็ต่อเมื่อพนักงานได้ทำงานต่อเนื่องจากเวลาปกติครบ 8 ชั่วโมง (07.30-16.30) แล้วเท่านั้น

คำถาม
1. การกำหนดในเรื่องการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาของนายจ้างว่า "ต้องทำงานเป็นเวลานานเท่าใดจึงจะมีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา" ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2. ตามกรณีตัวอย่างที่ 2 นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราเท่าใด

จาก
kong

labourqa

การทำงานในงานทั่วๆไป ปกติกฎหมายคุ้มครองแรงงานจะกำหนดให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 8 ชม.หรือ สัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชม. และในการทำงานสัปดาห์หนึ่งต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์1 วัน หรือทำสัปดาห์ละ 6 วัน โดยจะหยุด1 วันๆ ใดก็ได้

 *การทำงานวันหนึ่งเกินวันละ 8 ชม.เช่นให้ทำวันละ 9 ชม. หรือเกินสัปดาห์ละ 48 ชม. หรือสัปดาห์หนึ่งทำงาน 7 วัน โดยลูกจ้างไม่ได้หยุดเลยดังที่กล่าวมา ถ้ามิใช่กรณีที่ลูกจ้างสมัครใจทำงานเกินวันละ 8 ชม เอง หรือสมัครใจมาทำงานทั้ง 7 วันเอง โดยที่นายจ้างไม่ได้สั่งให้ลูกจ้างทำเกิน ก็ต้องถือว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา( OT) และเป็นการทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน

 *ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า หรือค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์เพิ่ม 1 เท่ากรณีลูกจ้างรายเดือน หรือ 2 เท่าสำหรับลูกจ้างรายวัน

 *ถ้านายจ้างไม่จ่ายลูกจ้าง ก็อาจฟ้องบังคับให้นายจ้างจ่ายได้

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมท่านสามารถติดต่อกรมได้หลายช่องทางดังนี้ 1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.) 2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.) 3. ติดต่อด้วยตนเองที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด / กรุงเทพฯ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัด ที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.) - สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1 - สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 4. ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/ ท่านสามารถศึกษาขั้นตอนตามวิดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=XYo16x4Y4PI