เนื่องจากตอนแรกเป็นโรคลมชักอยู่แล้ว แต่อาการไม่เคยกำเริบตอนทำงานเลย แต่ทำงานที่โรงพยาสัตว์ผ่านมาได้เข้าปีที่4 อาการกำเริบเป็นตอนทำงาน3รอบใน1ปี ติดกัน หมอบอกว่าเกิดจากความเครียด นอนไม่พอและเหนื่อยสะสม
แต่ที่โรงพยาสัตว์ก็ทราบนะคะและก็เพิ่งมีการปรับตารางเวรในปีนี้ลงบ้างแต่ปีก่อนๆเราก็เข้าเวรเต็มที่โดยตอนแรกมีเวรเข้าไนท์เลิกเช้าเราก็ขอไม่เข้า แต่เข้าผ่าตัด12.00-24.00แต่บ้างครั้งก็เลยเวลาต้องทำโอทีเกือบเช้าก็มีค่ะ แล้วก็เวรWard 8.30-20.30ค่ะ
ถ้าแบบนี้ เป็นความผิดของเราฝ่ายเดียวไหม แล้วถ้าจะออกทางโรงพยาบาลสัตว์ควรให้เงินเยียวยาอะไรไหมคะ เพราะทางโรงพยาบาลสัตว์ก็อยากให้เราออกมาพัก แต่ไม่แน่ใจว่าเค้าจะให้เราลาออกไหมคะ

จาก
นางสาวจารุวัลย์ หยู

labourqa

พิจารณา 2 กรณี คือ
กรณีแรก ลูกจ้างลาออกเอง มาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้

กรณีที่สอง กรณีถูกเลิกจ้าง มาตรา 118 ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างมีดังนี้
• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย