สวัสดีครับมีเรื่องเรียนสอบถามดังนี้
1. ตามมาตรา 65พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พนักงานที่อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการ แต่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ ในการให้บำเหน็จรางวัลหรือการเลิกจ้าง หากลูกจ้างต้องทำงานล่วงเวลาและนายจ้างอนุมัต รวมถึงการให้ลูกจ้างออกไปทำงานยังต่างจังหวัดที่ไม่ใช่สำนักงานใหญ่ ทางบริษัทจะปฏิเสธการจ่าค่าล่วงเวลาได้หรือไม่ เนื่องจาก แต่ทางบริษัทออกกฏใหม่มาดังนี้
1. การทำงานล่วงเวลา
1.1 พนักงานที่ไม่มีสิทธิ์ ได้ค่าล่วงเวลา
- พนักงานในตำแหน่งผู้จัดการขึ้นไป
- พนักงานฝ่ายขาย
ข้อสอบถามคือ
ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องเลยอยากจะสอบถาม ว่า ทางบริษัทจะปฏิเสธการจ่าค่าล่วงเวลาได้หรือไม่
2. กรณีเบี้ยเลี้ยง เดิมหากต้องไปทำงานนอกพื้นที่ กรุงเทพและปริมนฑล จะได้เบี้ยนเลี้ยง 300บาท/วัน แต่มีการออกกฏใหม่มาดังนี้
2.3 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยง
- กรณีที่ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน น้อยกว่า(หรือไม่เกิน) 8 ชั่วโมง จะได้รับเบี้ยเลี้ยงจำนวน 150 บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน) โดยเริ่มนับจากการเปิดงานที่หน้าไซต์งาน (***ไม่ใช่ตั้งแต่เริ่มออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร***)
- กรณีต้องค้างคืน จะได้เบี้ยเลี้ยงจำนวน 300 บาท(สามร้อยบาทถ้วน) ***ทั้งนี้การตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้พนักงานค้างคืนหรือไม่? ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้างานหรือผู้บริหาร(แล้วแต่กรณี)***
ข้อสอบถามคือ
ทางบริษัทสามารถปรับเปลี่ยนกฏโดยที่ทางลูกค้าไม่ยินยอมได้หรือไม่
3. สิทธิการลาพักร้อน กฏเดิม
4.3 ลาพักร้อน/วันหยุดพักผ่อนประจำปี
4.3.1 ลูกจ้างซึ่งผ่านช่วงทดลองงานตามที่ตกลงกับนายข้างตามสัญญาจ้าง มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนลาพักร้อนได้ โดย จะไข้สิทธิ์ลาพักร้อนได้ทั้งหมด 6 วัน ได้ในปีแรกของการทำงาน โดยลูกจ้างจะได้รับวันหยุดพักผ่อนประจําปีเพิ่มจาก 6 วันเดิม ปีละ 1 วัน ในปีที่ 2 หากลูกจ้างมีอายุงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะได้ รับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพิ่ม ปีละ 2 วัน จนสูงสุดเป็นจำนวน 15 วัน
4.3.2 การลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นน โยบายหนึ่งของบริษัท ที่สนับสนุนให้ลูกจ้างใช้สิทธิ์ลาหยุดของลูกจ้างที่มีในแต่ละปีทั้งหมด
4.3.3 วันหยุดของลูกจ้างที่คงเหลือในปีนั้น ๆ สามารถนำไปสมทบได้พือง 6 สิทธิ์แรกตามที่กฎหมายกำหนดทำเท่านั้น โดยวันกา
สมทบจะมีอายุการใช้งาน 2 ปี นับจากวันที่สมทบ และสิทธิ์วันหยุดคงหลือที่ 7-15 ไม่สามารถนำไปสมทบกับปีถัดไปได้
4.3.4 หากลูกข้างมีความประ สงค์ที่จะใช้สิทธิ์ล าหยุดพักผ่อนประจำปีติดต่อกัน ตั้งแต่ 5 วันเป็นต้นต้นไป ลูกจ้างต้องแจ้งนายจ้าง
หรือผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า อย่างน้อย 45 วัน ก่อนวันลา มิเช่นนั้นให้ถือว่าผิดระเบียบบริษัท และนายจ้างมีสิทธิ์ตักเตือน หรือหักคะแนนประเมินของลูกจ้างตามที่นายจ้างเห็นสมควร
4.3.5 ลูกจ้างห้ามใช้สิทธิวันลาติดต่อกันเกิน 7 วัน (ไม่นับวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์) หากลูกจ้างใช่วันลาพักร้อนเกินกว่าสิทธิ์ที่ได้รับหรือลาพักร้อนนายข้างมีสิทธิ์หักเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้าง
กฏใหม่
3. ลาพักร้อน/วันหยุดพักผ่อนประจำปี
3.1 ลูกจ้างซึ่งผ่านช่วงทดลองงานตามที่ตกลงกับนายจ้างตามสัญญาจ้าง มีสิทธิหยุดพักผ่อน/ลาพักร้อนได้ โดย จะใช้สิทธิลาพักร้อนได้ทั้งหมด 6 วัน ได้ในปีแรกของการทำงาน
- อายุงาน 1-3 ปี ได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 6 วัน
- อายุงาน 4-5 ปี ได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน
- อายุงาน 5 ปีขึ้นไป ได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 10 วัน
3.2 การลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นนโยบายหนึ่งของบริษัท ที่สนับสนุนให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดของลูกจ้างที่มีในแต่ละปีทั้งหมด
3.3 วันหยุดของลูกจ้างที่คงเหลือในปีนั้น ๆ ไม่สามารถนำไปสมทบกับปีต่อๆ ไปได้
3.4 การแจ้งลาพักร้อน ให้ดำเนินการล่วงหน้า อย่างน้อย 15 วัน
3.5 หากลูกจ้างมีความประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีติดต่อกัน ตั้งแต่ 5 วันเป็นต้นไป ลูกจ้างต้องแจ้งนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา ล่วงหน้า อย่างน้อย 45 วัน ก่อนวันลา มิเช่นนั้นให้ถือว่าผิดระเบียบบริษัท และนายจ้างมีสิทธิ์ตักเตือนหรือหักคะแนนประเมินของลูกจ้างตามที่นายจ้างเห็นสมควร
3.6 ลูกจ้างห้ามใช้สิทธิวันลาติดต่อกันเกิน 5 วัน (ไม่นับวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์)
3.7 หากลูกจ้างใช้วันลาพักร้อนเกินกว่าสิทธิ์ที่ได้รับหรือลาพักร้อนนายจ้างมีสิทธิ์หักเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้าง
ข้อสอบถามคือ
จากกฏเดิมและกฏใหม่ สำหรับลูกจ้าง จำนวนวันลาพักร้อนที่ได้รับจะน้อยลง อยากสอบถามว่าทางบริษัทสามารถทำได้โดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอมหรือไม่