ขอปรึกษาค่ะ ทำสินค้าของบริษัทที่จะต้องส่งให้ลูกค้าเสียหายค่ะ มูลค่า 74,000 บาท หลังจากทำเสียหาย ฝ่ายการเงินเรียกไปคุย บอกให้เราจ่ายเงินครึ่งนึงของมูลค่าสินค้าก่อน เพื่อเอาไปจ่ายให้ลูกค้าที่ทำให้ส่งของล่าช้า แล้วบริษัทจะทยอยคืนเงินให้ แต่เราไม่มีเงินก้อนที่จะจ่ายให้กับบริษัท พอดีสิ้นเดือนเงินเดือนออก มาเราเอาเงินไปจ่ายให้15000บาทซึ่งเงินที่จ่ายไปคืนเงินเดือนของเราทั้งเดือนไม่เหลือไว้ใช้จ่ายเลย ยอดเงินค่าเสียหายที่เหลือเรายินดียินยอมที่จะให้บริษัทหักจากเงินเดือนหักจ่ายจนกว่าจะครบยอดค่าสินค้าที่เสียหายไป จะทำได้ไหมคะ

จาก
พนักงานตัวน้อย

labourqa

เรียน คุณพนักงานตัวน้อย ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “ขอปรึกษาค่ะ ทำสินค้าของบริษัทที่จะต้องส่งให้ลูกค้าเสียหายค่ะ มูลค่า 74,000 บาท หลังจากทำเสียหาย ฝ่ายการเงินเรียกไปคุย บอกให้เราจ่ายเงินครึ่งนึงของมูลค่าสินค้าก่อน เพื่อเอาไปจ่ายให้ลูกค้าที่ทำให้ส่งของล่าช้า แล้วบริษัทจะทยอยคืนเงินให้ แต่เราไม่มีเงินก้อนที่จะจ่ายให้กับบริษัท พอดีสิ้นเดือนเงินเดือนออก มาเราเอาเงินไปจ่ายให้15000บาทซึ่งเงินที่จ่ายไปคืนเงินเดือนของเราทั้งเดือนไม่เหลือไว้ใช้จ่ายเลย ยอดเงินค่าเสียหายที่เหลือเรายินดียินยอมที่จะให้บริษัทหักจากเงินเดือนหักจ่ายจนกว่าจะครบยอดค่าสินค้าที่เสียหายไป จะทำได้ไหมคะ” นั้น 

 

เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขออนุญาตชี้แจงว่า กรณีนี้ที่ลูกจ้างทำความเสียหายให้นายจ้าง กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดว่า

มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ (๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง 

การหักตาม (๔) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

มาตรา ๗๗ ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ หรือการหักเงินตามมาตรา ๗๖ นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ

 

หมายเหตุ: หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน