ลาป่วยเป็นชั่งโมง หัวหน้าอนุมัติแล้วแต่ hr บริษัท ไม่อนุมัติ

จาก
รินรดา อเนกบุญญานนท์

labourqa

สิทธิการลาป่วยของลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง หากลูกจ้างป่วยจริงและลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ค่าจ้างระหว่างการลาป่วย กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ในวันลาป่วยตามวรรคหนึ่งเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ป่วย ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน

การที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยตามที่ระเบียบข้อบังคับกำหนด เช่น โทรแจ้งต่อหัวหน้างาน หรือฝ่ายบุคคล ถือว่าการลาป่วยถูกต้องและสามารถใช้เป็นหลักฐานในการลาป่วยได้ แม้หัวหน้างานจะไม่เซ็นใบลาให้ก็ตามครับ

ทั้งนี้ ในเรื่องของการร้องเรียนท่านจะสามารถร้องเรียนได้หากเกิดกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ในวันที่ลาป่วยดังกล่าวครับ

กรณีที่ท่านไม่ได้รับค่าจ้าง หรือเงินอื่นๆ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ท่านสามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ทุกพื้นที่ ในวันเวลาราชการ หรือยื่นคำร้องได้ทางอินเทอร์เน็ต https://eservice.labour.go.th

ท่านสามารถติดต่อกรมได้หลายช่องทาง

1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)

2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)

3. ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด / กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)

 - รายละเอียดเบอร์โทรศัพท์และที่ตั้งสำนักงาน เพื่อติดต่อพนักงานตรวจแรงงาน มีดังนี้

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10

https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด

https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2

หรือ ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/

ท่านสามารถศึกษาขั้นตอนตามวิดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=XYo16x4Y4PI