อยากทราบวิธีคิดหักลาไม่ได้รับค่าจ้าง ของพนักงานรายเดือนฐานเงินเดือน 15,000 บาท จะต้องคำนวณเงินออกมายังไง
เคสที่ 1. เดือนที่มี 31 วัน >> พนักงานลาไม่ได้รับค่าจ้าง 5 วัน, วันที่ทำงานจริง 26 วัน = ?
เคสที่ 2. เดือนที่มี 28 วัน >> พนักงานลาไม่ได้รับค่าจ้าง 5 วัน, วันที่ทำงานจริง 23 วัน = ?
เคสที่ 3. เดือนที่มี 28 วัน >> พนักงานลาไม่ได้รับค่าจ้าง 28 วัน = ?

จาก
zin

labourqa

เรียนคุณ zin ตามที่ท่านสอบถามว่า “อยากทราบวิธีคิดหักลาไม่ได้รับค่าจ้าง ของพนักงานรายเดือนฐานเงินเดือน 15,000 บาท จะต้องคำนวณเงินออกมายังไง

เคสที่ 1. เดือนที่มี 31 วัน >> พนักงานลาไม่ได้รับค่าจ้าง 5 วัน, วันที่ทำงานจริง 26 วัน = ?

เคสที่ 2. เดือนที่มี 28 วัน >> พนักงานลาไม่ได้รับค่าจ้าง 5 วัน, วันที่ทำงานจริง 23 วัน = ?

เคสที่ 3. เดือนที่มี 28 วัน >> พนักงานลาไม่ได้รับค่าจ้าง 28 วัน = ?” นั้น

เจ้าหน้าที่จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอตอบคำถามว่า การที่นายจ้างจะกำหนดให้ลาโดยไม่ได้รับค่าจ้างนั้น นายจ้างต้องกำหนดไว้ในข้อบังคบเกี่ยวกับการทำงานไว้ก่อน หากมิได้ระบุไว้นั้น นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานในวันดังกล่าวเองนั้นอาจมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างในวันดังกล่าวด้วย  แต่จากคำถามนั้น ท่านต้องเข้าใจก่อนว่าคำว่าลูกจ้างรายเดือน คำว่าเดือนนั้นต้องอ้างอิงตามกำหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ 30 วัน ดังนั้นกรณีที่ท่านยกมาทั้ง 3 เคส ไม่ว่าเดือนนั้นจะมีวันทั้งหมด 31 30 29 หรือ 28 วัน ก็ตาม ก็ต้องยิน 30 วัน คือ 1 เดือน จากนั้นเมื่อข้อบังคับเขียนไว้ให้มีการลาไม่ได้รับค่าจ้างแล้วและไม่จ่ายค่าจ้างในวันลานั้นแล้ว เมื่อทีการลาเกิดขึ้นนายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมีสิทธิ ห้ามแสดงข้อความเป็นการหักค่าจ้างในช่องหัก (เพราะไม่เป็นไปตาม ม.76+77 พรบ.คุ้มครองแรงงาน) แต่จะเป็นการจ่ายค่าจ้างตามจริงในช่องรายรับ เช่น กรณีที่ 1 และ 2 ลูกจ้างลาฯ จำนวน 5 วัน เมื่อจ่ายค่าจ้างจะเป็นฐาน 25 แรง เป็นเงิน 12,500.- บาท และกรณีที่ 3 ได้รับค่าจ้างเต็ม จำนวน 15,000.- บาท (กรณีที่ท่านถามมานั้นเป็นกรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายวันที่จะคำนวณตามวันที่มาทำงาน โดยไม่มีสิทธได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างเดียว)

ดังนั้น หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน