สอบถามค่ะ

นายจ้างลดเงินเดือนเป็นค่าแรงขั้นต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็น 300 บาท บริษัทอยู่ปทุมธานีตามกฎหมายต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 353 บาท และจะจ้างพนักงานออก และจะเปลี่ยนจ่ายเงินค่าชดเชยด้วยเงินค่าแรงต่ำที่ปรับลดเงินเดือนได้ไหม (ยังไม่มีเซ็นยินยอม) และนายจ้างจะไปคุยกับกระทรวงแรงงานว่าบริษัทตนขาดทุน บริษัทจะทำเองปรับลดเลยได้ไหม ถ้าพนักงานไม่เซ็นยินยอม

เช่น ได้รับเงินเดือน 10,590 บาททุกเดือน อายุงาน 10 ปีขึ้นไป และบริษัทหักประกันสังคม 500 บาท ตอนบริษัทจ้างออกจะต้องได้รับเงินชดเชย 10 เดือน เท่ากับ 10,590*10 = 105,900 บาท แต่บริษัทจะลดเงินเดือนเป็นจ่ายค่าแรงขั้นต่ำกว่ากฎหมายกำหนด 300 บาท เท่ากับว่าเงินเดือนที่ได้รับ 9,000 บาท ค่าชดเชยจ้างออก 10 เดือน เท่ากับ 9,000*10 = 90,000 บาท (ยังไม่มีการเซ็นยินยอม) ทำให้เราเสียเปรียบขาดทุนไป 10,000 บาท

labourqa

ตามที่ท่านสอบถามมาว่า “สอบถามค่ะ นายจ้างลดเงินเดือนเป็นค่าแรงขั้นต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็น 300 บาท บริษัทอยู่ปทุมธานีตามกฎหมายต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 353 บาท และจะจ้างพนักงานออก และจะเปลี่ยนจ่ายเงินค่าชดเชยด้วยเงินค่าแรงต่ำที่ปรับลดเงินเดือนได้ไหม (ยังไม่มีเซ็นยินยอม) และนายจ้างจะไปคุยกับกระทรวงแรงงานว่าบริษัทตนขาดทุน บริษัทจะทำเองปรับลดเลยได้ไหม ถ้าพนักงานไม่เซ็นยินยอม

เช่น ได้รับเงินเดือน 10,590 บาททุกเดือน อายุงาน 10 ปีขึ้นไป และบริษัทหักประกันสังคม 500 บาท ตอนบริษัทจ้างออกจะต้องได้รับเงินชดเชย 10 เดือน เท่ากับ 10,590*10 = 105,900 บาท แต่บริษัทจะลดเงินเดือนเป็นจ่ายค่าแรงขั้นต่ำกว่ากฎหมายกำหนด 300 บาท เท่ากับว่าเงินเดือนที่ได้รับ 9,000 บาท ค่าชดเชยจ้างออก 10 เดือน เท่ากับ 9,000*10 = 90,000 บาท (ยังไม่มีการเซ็นยินยอม) ทำให้เราเสียเปรียบขาดทุนไป 10,000 บาท” นั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขออธิบายดังนี้ เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และสภาพการจ้างนั้นต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น เป็นลูกจ้างรายเดือนได้ค่าจ้างเดือนละ 10,590.- บาท และจะลดต่ำกว่านี้ย่อมทำไม่ได้ ขัดต่อกฎหมาย  เรื่องที่ 2 การคิดอัตราค่าชดเชยคิดจากอตราค่าจ้างสุดท้าย สมมุติลูกจ้างเคยได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000.- บาท แต่ยินยอมให้นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นหนังสือ เหลือค่าจ้างขั้นต่ำ 10,590.- บาท แบบนี้หยึดเงินเดือนอันหลังครับ 

ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน