ขออนุญาตสอบถามค่ะ เดิมดิฉันทำงานเป็นผู้จัดการอยู่บริษัทหนึ่ง ต่อมาบริษัทได้เรียกดิฉันไปพูดคุยเพื่อสอบถามหากบริษัทจะย้ายสถานประกอบการ ซึ่งย้ายไปไกลจากเดิม ต้องขับรถไปกลับมากกว่า 50 กม./วัน และมีค่าทางเดินทางที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ดิฉันจึงแจ้งว่าดิฉันไม่สะดวกที่จะเดินทางไปทำหากบริษัทย้ายไปที่ใหม่ ซึ่งยังไม่ได้มีประกาศหรือระบุชัดเจนค่ะว่าจะมีการย้าย แต่ดิฉันรู้สึกเป็นกังวลอย่างมาก เพราะเนื่องจากนายจ้างได้ปรึกษาทนาย และก่อนหน้าดิฉันเคยสอบถามทาง HR และทาง HR เคยแจ้งว่าก่อนหน้าเจ้านายมีแพลนที่จะประกาศแจ้งให้พนักงานทราบว่าจะย้ายสถานประกอบการ แต่พอเรียกดิฉันเข้าไปพูดคุยแล้ว นายจ้างจึงหยุดประกาศไว้ และต่อมา เหมือนนายจ้างไปปรึกษาทางทนายแล้ว ทางทนายน่าจะแนะนำให้นายจ้างเปิดสาขา 2 ของบริษัทค่ะ เพราะเจ้านายได้ทำการแจ้ง HR มาแล้วคร่าวๆว่าเราจะมีสาขาที่ 2 ทั้งที่เดิมบริษัทไม่เคยมีสาขามาก่อนค่ะ ประเด็นที่เกิดขึ้นคือ เมื่อไปศึกษาข้อกฎหมายมา จึงทราบว่าทางเจ้านายอาจจะไปปรึกษาทนายความมาแล้ว ให้มีการเปิดสาขาที่2 เพื่อจะได้สั่งให้พนักงานทั้งหมดย้ายไปทำงานอีกสาขาหนึ่งที่อ้างว่าเปิดใหม่ เป็นสาขาที่เจ้านายอยากจะให้พนักงานย้ายไปแต่แรกค่ะ ทีนี้ดิฉันมีข้อสงสัยว่า หากเจ้านายประกาศให้พนักงานทั้งหมดย้ายสาขาไปที่ใหม่ โดยที่เดิม เจ้านายยังไม่ปิดทำการค่ะ แต่บังคับให้พนักงานย้ายไปทุกคน โดยมีเหตุจูงใจเพราะไม่อยากจ่ายค่าชดเชยการจ้างงานให้กับพนักงาน โดยใช้ช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อต้องการบีบให้พนักงานลาออกกันไปเอง เพราะเดินทางไม่สะดวก เมื่อพนักงานลาออกไปแล้วจึงค่อยทำการปิดทำการที่เก่าภายหลัง เพราะค่าเช่าสำนักงานที่เก่าจะถูกกว่าการจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานที่ไม่สะดวกเดินทางค่ะ ถ้าหากเป็นกรณีนี้พนักงานไม่เต็มใจที่จะย้ายไปทำงานที่สาขาที่นายจ้างแจ้ง พนักงานจะสามารถเรียกร้องค่าชดเชยตามมาตรา 120 ได้หรือไม่ค่ะ ถือว่าเข้าข่ายมาตรานี้หรือไม่ หรือควรทำอย่างไรดีคะ ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น

labourqa

 

ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “ขออนุญาตสอบถามค่ะ เดิมดิฉันทำงานเป็นผู้จัดการอยู่บริษัทหนึ่ง ต่อมาบริษัทได้เรียกดิฉันไปพูดคุยเพื่อสอบถามหากบริษัทจะย้ายสถานประกอบการ ซึ่งย้ายไปไกลจากเดิม ต้องขับรถไปกลับมากกว่า 50 กม./วัน และมีค่าทางเดินทางที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ดิฉันจึงแจ้งว่าดิฉันไม่สะดวกที่จะเดินทางไปทำหากบริษัทย้ายไปที่ใหม่ ซึ่งยังไม่ได้มีประกาศหรือระบุชัดเจนค่ะว่าจะมีการย้าย แต่ดิฉันรู้สึกเป็นกังวลอย่างมาก เพราะเนื่องจากนายจ้างได้ปรึกษาทนาย และก่อนหน้าดิฉันเคยสอบถามทาง HR และทาง HR เคยแจ้งว่าก่อนหน้าเจ้านายมีแพลนที่จะประกาศแจ้งให้พนักงานทราบว่าจะย้ายสถานประกอบการ แต่พอเรียกดิฉันเข้าไปพูดคุยแล้ว นายจ้างจึงหยุดประกาศไว้ และต่อมา เหมือนนายจ้างไปปรึกษาทางทนายแล้ว ทางทนายน่าจะแนะนำให้นายจ้างเปิดสาขา 2 ของบริษัทค่ะ เพราะเจ้านายได้ทำการแจ้ง HR มาแล้วคร่าวๆว่าเราจะมีสาขาที่ 2 ทั้งที่เดิมบริษัทไม่เคยมีสาขามาก่อนค่ะ ประเด็นที่เกิดขึ้นคือ เมื่อไปศึกษาข้อกฎหมายมา จึงทราบว่าทางเจ้านายอาจจะไปปรึกษาทนายความมาแล้ว ให้มีการเปิดสาขาที่2 เพื่อจะได้สั่งให้พนักงานทั้งหมดย้ายไปทำงานอีกสาขาหนึ่งที่อ้างว่าเปิดใหม่ เป็นสาขาที่เจ้านายอยากจะให้พนักงานย้ายไปแต่แรกค่ะ ทีนี้ดิฉันมีข้อสงสัยว่า หากเจ้านายประกาศให้พนักงานทั้งหมดย้ายสาขาไปที่ใหม่ โดยที่เดิม เจ้านายยังไม่ปิดทำการค่ะ แต่บังคับให้พนักงานย้ายไปทุกคน โดยมีเหตุจูงใจเพราะไม่อยากจ่ายค่าชดเชยการจ้างงานให้กับพนักงาน โดยใช้ช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อต้องการบีบให้พนักงานลาออกกันไปเอง เพราะเดินทางไม่สะดวก เมื่อพนักงานลาออกไปแล้วจึงค่อยทำการปิดทำการที่เก่าภายหลัง เพราะค่าเช่าสำนักงานที่เก่าจะถูกกว่าการจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานที่ไม่สะดวกเดินทางค่ะ ถ้าหากเป็นกรณีนี้พนักงานไม่เต็มใจที่จะย้ายไปทำงานที่สาขาที่นายจ้างแจ้ง พนักงานจะสามารถเรียกร้องค่าชดเชยตามมาตรา 120 ได้หรือไม่ค่ะ ถือว่าเข้าข่ายมาตรานี้หรือไม่ หรือควรทำอย่างไรดีคะ ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น” นั้น

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขอแนะนำศึกษา พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 120 นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลุกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่งและให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118

ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

 

ดังนั้นให้ทานนำข้อเท็จจริงเข้าปรึกษาเป็นการเฉพาะกับนิติกร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใกล้บ้านท่าน

 

ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน