รูปแบบสัญญาแบบนี้ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ที่เรียกเก็บจากผู้ค้ำได้เลยโดยไม่ต้องไปติดตามทวงที่ลูกจ้าง และผู้ค้ำไม่มีสิทธิ์บอกยกเลิกสัญญาค้ำประกัน จนกว่าลูกจ้างจะหาคนมาแทน (สัญญาจ้าง 3 เดือนต่อเป็นครั้งๆ ไป ผู้ค้ำควรหมดวาระตั้งแต่ 3 เดือนแรกหรือไม่ เพราะให้เซ็นต์แค่ครั้งเดียว) และถือเป็นโมฆะได้หรือไหม

ซึ่งต่อไปในสัญญานี้ จะเรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันฉบับนี้ ให้ไว้กับ บริษัทxxx จำกัด ซึ่งต่อไป ในสัญญานี้ จะเรียกว่า “บริษัทฯ” มีข้อความดังนี้

1. ตามที่ “บริษัทฯ” ได้ตกลงรับ นายxx yy ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ลูกจ้าง” เข้าทำงานใน “บริษัทฯ” ถ้าหาก ภายหลัง "ลูกจ้าง" ได้ก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นแก่ "บริษัทฯ" หรือทาให้ทรัพย์สินของ "บริษัทฯ" สูญหาย หรือเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอก หน้าทีการงาน ว่าจ้าง ตาม ห มีหนี้สิน ๆ เช่น กรณีผิดสัญญาจ้าง ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อ บริษัท " "ผู้ค้ำประกัน ยอมรับผิดชอบชดใช้ หนี้สิน และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นตามจริง แต่ไม่เกินกว่าหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันสุดท้ายโดยเฉลี่ยที่ “ลูกจ้าง” ได้รับ ให้กับ"บริษัท " ทันทีโดยไม่อ้างเหตุใดๆมาปัดความรับผิดชอบเป็นอันขาด และ "บริษัท" ไม่ต้องใช้สิทธิทวงถามไปยัง “ลูกจ้าง” ให้ชำระหนี้ก่อนแต่อย่าง

2. "ผู้ค้ำประกัน มีความผูกพันกับ "ลูกจ้าง"ในฐานะ xxx

3. สถานที่อยู่ อาชีพหรือหลักฐาน ตามที่ ผู้ค้ำประกัน" ได้แจ้งไว้แล้วข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใด ผู้ค้ำประกัน" รับรอง ว่าจะรีบแจ้งให้ “บริษัทฯ” ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

4. การบอกกล่าวทวงถาม หรือส่งเอกสารใดๆ ถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของผู้ค้ำประกันตามสัญญาข้างต้นนี้ ให้ถือว่าได้ส่งใดยรอบแล้ว

5. สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ “ผู้ค้ำประกัน" จะบอกเลิกสัญญา หรือถอนการค้ำประกันไม่ได้ จนกว่า “ลูกจ้าง” จะหาบุคคลอื่น ที่มี

หลักฐาน "บริษัท" เห็นชอบแป็นผู้ค้ำประกันแทน ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกัน ได้อ่าน และเข้าใจข้อความในสัญญาค้ำประกันฉบับนี้โดยตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้องแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อ หน้าพยานเป็นสําคัญ

labourqa

ตาที่ท่านสอบถามมาว่า “รูปแบบสัญญาแบบนี้ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ที่เรียกเก็บจากผู้ค้ำได้เลยโดยไม่ต้องไปติดตามทวงที่ลูกจ้าง และผู้ค้ำไม่มีสิทธิ์บอกยกเลิกสัญญาค้ำประกัน จนกว่าลูกจ้างจะหาคนมาแทน (สัญญาจ้าง 3 เดือนต่อเป็นครั้งๆ ไป ผู้ค้ำควรหมดวาระตั้งแต่ 3 เดือนแรกหรือไม่ เพราะให้เซ็นต์แค่ครั้งเดียว) และถือเป็นโมฆะได้หรือไหม

ซึ่งต่อไปในสัญญานี้ จะเรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันฉบับนี้ ให้ไว้กับ บริษัทxxx จำกัด ซึ่งต่อไป ในสัญญานี้ จะเรียกว่า “บริษัทฯ” มีข้อความดังนี้

1. ตามที่ “บริษัทฯ” ได้ตกลงรับ นายxx yy ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ลูกจ้าง” เข้าทำงานใน “บริษัทฯ” ถ้าหาก ภายหลัง "ลูกจ้าง" ได้ก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นแก่ "บริษัทฯ" หรือทาให้ทรัพย์สินของ "บริษัทฯ" สูญหาย หรือเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอก หน้าทีการงาน ว่าจ้าง ตาม ห มีหนี้สิน ๆ เช่น กรณีผิดสัญญาจ้าง ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อ บริษัท " "ผู้ค้ำประกัน ยอมรับผิดชอบชดใช้ หนี้สิน และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นตามจริง แต่ไม่เกินกว่าหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันสุดท้ายโดยเฉลี่ยที่ “ลูกจ้าง” ได้รับ ให้กับ"บริษัท " ทันทีโดยไม่อ้างเหตุใดๆมาปัดความรับผิดชอบเป็นอันขาด และ "บริษัท" ไม่ต้องใช้สิทธิทวงถามไปยัง “ลูกจ้าง” ให้ชำระหนี้ก่อนแต่อย่าง

2. "ผู้ค้ำประกัน มีความผูกพันกับ "ลูกจ้าง"ในฐานะ xxx

3. สถานที่อยู่ อาชีพหรือหลักฐาน ตามที่ ผู้ค้ำประกัน" ได้แจ้งไว้แล้วข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใด ผู้ค้ำประกัน" รับรอง ว่าจะรีบแจ้งให้ “บริษัทฯ” ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

4. การบอกกล่าวทวงถาม หรือส่งเอกสารใดๆ ถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของผู้ค้ำประกันตามสัญญาข้างต้นนี้ ให้ถือว่าได้ส่งใดยรอบแล้ว

5. สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ “ผู้ค้ำประกัน" จะบอกเลิกสัญญา หรือถอนการค้ำประกันไม่ได้ จนกว่า “ลูกจ้าง” จะหาบุคคลอื่น ที่มี

หลักฐาน "บริษัท" เห็นชอบแป็นผู้ค้ำประกันแทน ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกัน ได้อ่าน และเข้าใจข้อความในสัญญาค้ำประกันฉบับนี้โดยตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้องแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อ หน้าพยานเป็นสําคัญ” นั้น

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอชี้แจ้งว่า กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับรายละเอียดสัญญาการคำประกันการทำงานหรือประกันความเสียหาย โดยจำกัดไว้เพียงตำแหน่งหน้าที่ลูกจ้างที่นายจ้างสามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือความเสียหายได้ และระบุวงเงินในการค้ำประกันไม่เกิน 60 เท่าของรายวันเท่านั้น เมื่อมีการคำประกันไปแล้วจะยึดวงเงินค้ำ ณ ฐานค่าจ้าง ณ เวลาที่ทำ หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่หรือวงเงินค้ำประกันต้องมีการยกเลิกฉบับเดิมแล้วจัดทำขึ้นใหม่ ส่วนการขอยกเลิกการค้ำประกันนั้น อาจเป็นภาระของผู้ค้ำประกันที่ต้องแจ้งทั้งสองฝ่ายเพื่อรับทราบต่อไป

ดังนั้นหากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน