คือว่าเงินเดือนจะตัดรอบทุกวันที่20 และทำงาน6วันหยุด1ต่อสัปดาห์ แต่ภายในเดือนนั้น ทำงาน27วัน หยุด3วันแต่ไม่ได้ค่าแรง เพราะไม่ได้เขียนใบโอทีหรือใดๆก็ตามเพราะไม่มีใครแจ้ง และทางฝ่ายบัญชีแจ้งว่ามาทำงาน27วัน เดือนนึงมี31 ก็ทำ27 ถูกแล้ว ซึ่งปกติไม่ว่าเดือนนึงจะมีกี่งันตามการคิดก็30วันอยู่ดี สรปึว่า1วันที่หยุดแต่ต้องมาทำงาน กลายเป็นว่าไม่ได้ค่าแรง
เริ่มงาน 17/06 หยุดวันที่ 26/06 8/07 15/07 ซึ่งหยุดเพียง3วัน จริงๆแล้วต้องหยุดวันที่1ด้วย แต่ได้มาทำงาน ซึ่งค่าแรงในส่วนนี้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรดีคะ

จาก
ชุติกาญจน?

labourqa

รียนคุณชุติกาญจน ตามมที่ท่านปรึกษาว่า “คือว่าเงินเดือนจะตัดรอบทุกวันที่20 และทำงาน6วันหยุด1ต่อสัปดาห์ แต่ภายในเดือนนั้น ทำงาน27วัน หยุด3วันแต่ไม่ได้ค่าแรง เพราะไม่ได้เขียนใบโอทีหรือใดๆก็ตามเพราะไม่มีใครแจ้ง และทางฝ่ายบัญชีแจ้งว่ามาทำงาน27วัน เดือนนึงมี31 ก็ทำ27 ถูกแล้ว ซึ่งปกติไม่ว่าเดือนนึงจะมีกี่งันตามการคิดก็30วันอยู่ดี สรปึว่า1วันที่หยุดแต่ต้องมาทำงาน กลายเป็นว่าไม่ได้ค่าแรง

เริ่มงาน 17/06 หยุดวันที่ 26/06 8/07 15/07 ซึ่งหยุดเพียง3วัน จริงๆแล้วต้องหยุดวันที่1ด้วย แต่ได้มาทำงาน ซึ่งค่าแรงในส่วนนี้ก็ไม่ได้ ทำอย่างไรดีคะ” นั้น

ตอบ แนะนำให้ท่านปรึกษาเพิ่มเติม ณ สำนักนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใกล้บ้านท่าน เนื่องจากต่องมีการอธิบายหรือได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจึงจะวินิจฉัยได้ว่านายจ้างถูกหรือผิด เช่น ท่านเป็นลูกจ้างรายวันหรือรายเดือน หากเป็นรายวันต้องตัดวันหยุดประจำสัปดาห์ออก ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้าง และการหยุดต้องทำ 6 หยุด 1 วัน ตาม มาตรา 28 ให้นานจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน และต้องดูว่าท่านสะสมได้ตามวรรคท้ายหรือไม่

และหากเป็นรายเดือนให้นับ 30 วัน ไม่ว่าเดือนนั้นจะมี 28 29 30 หรือ 31 วัน ต้องคำนวณค่าจ้าง 30 วัน เพราะคำนวณเป็นรายเดือน และกรณีวันหยุดแล้วให้มาทำงานนายจ้างต้องเป้นคนสั่งลูกจ้างยอมทำ จึงจะได้ค่าทำงานในวันหยุด

ดังนั้น หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน