สวัสดีค่ะ พอดีแจ้งลาออกจากที่ทำงานในวันที่6มิถุนายน2567แจ้งกับทางผู้จัดการทั้งแบบปากเปล่าและแจ้งในไลน์ส่วนตัวแล้วในวันที่6มิถุนายน2567พนักงานในร้านรับรู้ทุกคนแต่พอถึงวันจ่ายเงินเดือนกับโดนหักเงินค่าจ้างและได้ตรวจสอบตรงที่โดนหักเขียนว่าหักค่าลางานไม่รับค่าจ้าง/ขาดงาน/ลาเกิน/พักงานเป็นจำนวน5,800บาททั้งๆที่แจ้งกับทางผู้จัดการไปแล้วว่าเป็นการลาออกแต่ผู้จัดการใส่เป็นการลางานพักงานให้จนถึงวันที่22มิถุนายน2567แล้วค่อยมาแจ้งให้เขียนใบลาออกตอนวันที่17 ลาออกตั้งแต่วันที่6มิถุนายน2567เวลาประมาณเที่ยงกว่าๆตามแชทไลน์ค่ะ ฐานเงินเดือนคือ12,000บาทไม่รวมโอทีและอื่นๆค่ะ แบบนี้ผู้จัดการมีความผิดอะไรไหมคะ

จาก
P1349901332783

labourqa

เรียนคุณ P1349901332783 ตามที่ท่านปรึกษาว่า “สวัสดีค่ะ พอดีแจ้งลาออกจากที่ทำงานในวันที่6มิถุนายน2567แจ้งกับทางผู้จัดการทั้งแบบปากเปล่าและแจ้งในไลน์ส่วนตัวแล้วในวันที่6มิถุนายน2567พนักงานในร้านรับรู้ทุกคนแต่พอถึงวันจ่ายเงินเดือนกับโดนหักเงินค่าจ้างและได้ตรวจสอบตรงที่โดนหักเขียนว่าหักค่าลางานไม่รับค่าจ้าง/ขาดงาน/ลาเกิน/พักงานเป็นจำนวน5,800บาททั้งๆที่แจ้งกับทางผู้จัดการไปแล้วว่าเป็นการลาออกแต่ผู้จัดการใส่เป็นการลางานพักงานให้จนถึงวันที่22มิถุนายน2567แล้วค่อยมาแจ้งให้เขียนใบลาออกตอนวันที่17 ลาออกตั้งแต่วันที่6มิถุนายน2567เวลาประมาณเที่ยงกว่าๆตามแชทไลน์ค่ะ ฐานเงินเดือนคือ12,000บาทไม่รวมโอทีและอื่นๆค่ะ แบบนี้ผู้จัดการมีความผิดอะไรไหมคะ” นั้น

ตอบ หากลูกจ้างทำงานจริงตามวันเวลาที่ลูกจ้างทำจริง มีสิทธิได้รับตามกฎหมายปกติ นายจ้างจะหักค่าจ้างไม่ได้ การหักค่าจ้างต้องเป็นไป ม.76 เท่านั้น คือ

มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

(๑) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(๒) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

(๓) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(๕) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม

การหักตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

 

ฉะนั้นหากลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้าง ท่านสามารถยื่นคำร้องทุกข์ (คร.7) ได้ครับ

 ดังนั้น หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน