สวัสดีครับ ผมกราบขอณุญาตถามครับ

เมื่อต้นเดือนที่แล้วมีปากเสียงเรื่องการสอนงานของพนักงานที่คนนึงใช้ความรู้สึกส่วนตัว อีกคนนึงใช้ระบบระเบียบบริษัท แต่กลับถูกต่อว่าและเป็นเหตุให้แจ้งลาออกและรอครบกำหนด30วันออกแต่เป็นการแจ้งออกแบบไม่ได้ส่งเอกสารยังไม่ได้เขียนอะไรเลย แต่ถูกแจ้งพ้นสภาพพนักงานก่อน หัวหน้างานสาขา1 แจ้งว่าขาดงานติดต่อกัน3วัน

แต่ไอ3วันดังกล่าวไม่ได้หายหรือไร้การติดต่อ แต่ไปทำงานอีกสาขานึงใกล้ๆกันติดต่อสื่อสารพูดคุยกับหัวหน้าทางแจ้งวันเวลาทำงานสาขา2อยู่ทุกวัน

"ไปทำไม" ถูกไล่ให้หาสาขาทำงานเอง ไม่ให้มาทำที่นี่ถูกด่าซ้ำว่าขโมยเงินบริษัททั้งที่ไม่มีหลักฐานและคนต้าเรื่องก็ยังไม่ได้เอ่ยถึงตน ดูถูกเหยียดหยามว่าทำงานกับใครไม่ได้และถูกลบออกจากไลน์กลุ่มร้าน กลุ่มรวมเกี่ยวกับสาขาหมดทุกกลุ่ม
ก็มาทำงานกับสาขาที่2นี้จนถึง
วันที่20 ช่วงเย็นได้ทักหา ผจกสาขา2ถามตารางงานว่าวันที่21ให้เข้ากี่โมงเพราะลาหยุดไปช่วยญาติพี่น้องย้ายถิ่นที่อยู่โดยแจ้งตลอด แต่คำตอบคือ เขาแจ้งลาออกไปแล้วเลยไม่ได้ให้ทำงานแล้ว ผมก็กังวลการถูกหักเงินเดือนและกองทุนสมทบของบริษัท ซึ่งทางHRกับแอเรียโซนเก่าบอกว่าไม่โดน แต่สิ้นเดือนที่ผ่านมา ผมถูกหักเงินร่วม8พันบาทและถูกตัดสิทเงิบสมทบของบริษัทอีก จะได้แค้ของตัวเองคืน และปรับตำแหน่งตอนจะออกเดือนที่แล้วบอกจะปรับให้ก็ยังดองอยู่ทำให้พลาดงานเงินเดือนสูง2ที่เพราะรักที่นี่และกลัวการเริ่มใหม่ และปัจจุบันตกงานแบบงงๆ และยังไม่มีงานทำไปสมัครที่ก่อนหน้านี้ก็ได้คนแล้ว โดนหักเงินอีก เงินก็หลือหลักร้อย แบบนี้ฟ้องร้อง เลิกจ้างไม่มีเหตุอันควรได้หรือไม่ครับ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ได้มั้ยครับ จะสู้บริษัทใหญ่ๆแบบนี้ด้วยตัวคนเดียวได้ยังไงบ้างครับ หลักฐานส่วนใหญ่จากในมือถือหมด เอามาใช้ได้มั้ยครับ บอกบุญผมด้วยเถิ๊ดดด
3.3ปี ไร้ค่าเลย 😥

จาก
Ya Hoow

labourqa

ยื่นคำร้องทุกได้ครับ ดังนั้น หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน