ผมไม่ได้ค่าชดเชยตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และ ค่าตกใจ เลิกจ้าง เนื่องจากผมได้ทำสัญญาวันเริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน 2564 จนมาถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ผมได้เซ็นใบลาออกและในใบลาออกนั้นมีผลวันที่ 30 สิงหาคม 2567
แต่ในระหว่างเดือนสิงหาคม ทางบริษัทได้มีการพูดคุยว่าจะให้ผมทำงานต่อและจะให้ทำสัญญาขึ้นมาใหม่เป็นสัญญากำหนดระยะเวลา จนผมทำงานมาเรื่อยๆจนเลยวันที่ผมเขียนใบลาออกไปแล้ว ทางบริษัทก็ยังให้ผมทำงานปกติ ผมก็เข้าใจว่าเขาจ้างผมต่อแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการทำสัญญากำหนดระยะเวลาใหม่ขึ้นไม่มีสัญญาใดๆให้เซ็น จนผมทำงานมาถึงวันที่ 12 กันยายน 2567 ทางบริษัทบอกว่าไม่ต้องการผมแล้วและให้ออกวันที่ 13 กันยายน 2567 เลย ซึ่งทางบริษัทอ้างว่าที่เห็นผมมาทำงานนึกว่ามาทำงานให้ฟรี ทั้งๆที่ในแชทก็ยังมีการสั่งงานผมปกติและมีการรันงานอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 13 กันยายน 2567 ผมจึงถามทางบริษัทว่าจะได้ชดเชยและค่าตกใจมั้ย ทางบริษัทแจ้งว่าจะให้เงินรายวันแค่13 วันเท่านั้น ผมจึงอยากสอบถามว่าผมมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยและค่าตกใจหรือไม่ ขอบคุณครับ

จาก
-

labourqa

เรียน คุณ - ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “ผมไม่ได้ค่าชดเชยตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และ ค่าตกใจ เลิกจ้าง เนื่องจากผมได้ทำสัญญาวันเริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน 2564 จนมาถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ผมได้เซ็นใบลาออก และในใบลาออกนั้นมีผลวันที่ 30 สิงหาคม 2567 แต่ในระหว่างเดือนสิงหาคม ทางบริษัทได้มีการพูดคุยว่าจะให้ผมทำงานต่อ และจะให้ทำสัญญาขึ้นมาใหม่เป็นสัญญากำหนดระยะเวลา จนผมทำงานมาเรื่อย ๆ จนเลยวันที่ผมเขียนใบลาออกไปแล้ว ทางบริษัทก็ยังให้ผมทำงานปกติ ผมก็เข้าใจว่าเขาจ้างผมต่อแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการทำสัญญากำหนดระยะเวลาใหม่ขึ้นไม่มีสัญญาใดๆ ให้เซ็น จนผมทำงานมาถึงวันที่ 12 กันยายน 2567 ทางบริษัทบอกว่าไม่ต้องการผมแล้วและให้ออกวันที่ 13 กันยายน 2567 เลย ซึ่งทางบริษัทอ้างว่าที่เห็นผมมาทำงานนึกว่ามาทำงานให้ฟรี ทั้งๆ ที่ในแชทก็ยังมีการสั่งงานผมปกติและมีการรันงานอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 13 กันยายน 2567 ผมจึงถามทางบริษัทว่าจะได้ชดเชยและค่าตกใจมั้ย ทางบริษัทแจ้งว่าจะให้เงินรายวันแค่13 วันเท่านั้น ผมจึงอยากสอบถามว่าผมมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยและค่าตกใจหรือไม่ ขอบคุณครับ” นั้น 

 

เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขออนุญาตชี้แจงว่า ประเด็นแรกคือยึดตามเจตนาลาลออกของลูกจ้างซึ่งมีผลโดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง ประเด็นที่สองคำเสนอจากนายจ้างและคำสนองจากลูกจ้างว่าจะมีการต่อสัญญาจ้างนั้นซึ่งได้ทำเป็นหนังสือ หากข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาจ้างโดยปริยายหรือไม่นั้นต้องมีการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ท่านสามารถใช้สิทธิที่ศาลแรงงานก็ได้ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานก็ได้ หรือจะสั่งให้ว่าสัญญานั้นนับต่อเนื่องและได้รับเงินตามสิทธิก็ได้

หรือจะยื่นคำร้องทุกต่อพนักงานตรวจแรงงานให้ดำเนินการพิจารณาเรื่องค่าชดเชยค่าบอกกล่าวล่วงหน้าได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งขึ้นอยู่กับท่านประสงค์ใช้สิทธิที่ไหน

 

หมายเหตุ: หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน