ผมเป็นพนักงานของบริษัท
ที่มาประจำการที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่นึง
ซึ่งการจ้างงานนี้ มาจากการที่บริษัทได้ชนะการมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และได้ให้ตัวผมเข้ามาดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างที่กำหนด
แต่ผมเคยประสบปัญหาที่รถยนต์ผมพัง จึงต้องจอดค้างคืนไว้ที่อาคารจอดรถ และรถของผมนั้นไม่มีสติกเกอร์ของหน่วยงาน ทำให้ รปภ มาแจ้งให้นำออก ถึง 3 ครั้ง
ซึ่งทุกๆครั้ง ดูเหมือนหัวหน้า รปภ เขาจะอารมณ์เสีย และดูไม่พอใจผมสุดๆ
ดังนั้น ผมจึงติดต่อฝ่ายฯ ที่ดูแล ทำการออกสติกเกอร์ให้
แต่พอติด แล้ว รปภ. ไม่ยอมให้ผมขับรถเข้ามาในตึกที่ผมทำงานอยู่
โดยอ้างว่า ตึกนี้ให้เฉพาะ พนักงานขององค์กรเท่านั้น
ลูกจ้าง, แม่ค้า และบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิ์จอดรถ
แต่ผมทำงานที่นี่ ผมก็ต้องมาทุกวันอยู่แล้ว
จึงมีกระทบกระทั่งวาจากันนานหลายวัน
จนสุดท้าย มีคนโทรมาอธิบายให้ผมฟังว่า เหตุที่ผมจอดรถในตึกไม่ได้นั้นเพราะว่า มีพนักงานขององค์กรไปแจ้งว่าเขาไม่มีที่จอดรถเลย และการที่ผมเข้างาน 6 โมง เช้ามันเลยดูเอาเปรียบเพราะผมสามารถเลือกที่จอดได้ ไม่เหมือนกับพนักงานที่เข้างาน 8 โมง ทุกวัน และการที่ผมมาทุกวัน มันก็ทำให้ที่จอดรถไม่พอ และอีกอย่างคือ
“ตัวผมเป็นลูกจ้างฯ ที่ไม่ใช่ลูกจ้าง” ดังนั้นแม้จะออกสติกเกอร์ติดรถให้ แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ใดๆ เหมือนคนลูกจ้าง หรือ พนักงานขององค์กร
แต่พอผมถามกลับไป ว่าทำไม พนักงานรักษาความปลอดภัย แม่บ้าน แม่ค้า ลูกจ้างจากบริษัทต่างๆ ล่ะ
เขาก็ตอบว่าคนละอย่างกันกับของผม
คนอื่นเขาเป็นลูกจ้าง และลูกจ้างที่มีสิทธิ์จะจอดรถ หรือเข้ามาในตึกนี้ ต้องเป็นลูกจ้างที่ไกล้ชิดกับ พนักงาน ขององค์กร หรือ
ถึงแม้ผมจะมีห้องทำงาน มีโต๊ะ คอม เอกสาร ใกล้ชิดพนักงาน ทำงานทุกวัน หรืออะไรต่างๆ ก็ตาม แต่ตัวผมถือว่าเป็นผู้รับเหมา และรถของผมนั้น ถือเป็นรถของผู้รับเหมา หรือคนนอก จอดไม่ได้ เขาบอกแบบนั้น

ในมุมมองของผม พนง.รักษาความปลอดภัย, พนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานบริษัทใดๆก็ล้วนแต่เป็นลูกจ้างบริษัท และชนะประมูลจ้างงานมา ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างมันก็เหมือนกันกับที่ผมได้เข้ามาทำงานในนี้ คนอื่นๆเขาก็ไม่มีปัญหา ทำไมถึงมีกับผมคนเดียว เพราะว่า
พนักงานอีกคนที่ทำงานกับผม เขาก็ขับรถเข้ามาได้ปกติ
บุตรของพนักงาน ก็เข้าได้ (ตามหลักถือเป็นคนนอก)
แม่บ้าน หรือ รปภ ที่มีรถ ก็เข้ามาจอดในตึกได้
รถบางคันที่ไม่มีสติกเกอร์ ก็เข้าได้
แต่จะมีปัญหาแค่กับผมคนเดียว
จนตอนนี้ผมไม่สามารถขับรถเข้ามาทำงานได้ ทั้งมอเตอร์ไซค์ และ รถยนต์
ถึงแม้จะมีสติกเกอร์ของหน่วยงานแล้วทั้งสองคัน
แต่ก็ไม่ให้ผมเข้ามา
ถ้าจะขับมา เขาให้ผมไปจอดที่สนามกีฬา ซึ่งไกลจากตึกที่ทำงานพอสมควร
คิดเห็นอย่างไรบ้างครับแบบนี้ มันถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่?

จาก
Fitness Center

labourqa

เรียน คุณ Fitness Center

เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภายในองค์ ขอให้ท่านปรึกษาผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน และศึกษาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งซึ่งกันละกัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแล้ว ท่านเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่าง
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m1
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
https://www.labour.go.th/index.php/contact/contact-m2 
หรือ 
สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.)
สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.) ค่ะ

หรือหากไม่สะดวกเดินทางไป ท่านสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) ได้ที่ 
https://eservice.labour.go.th/ 
ท่านสามารถศึกษาขั้นตอนตามวิดีโอนี้ 
https://www.youtube.com/watch?v=XYo16x4Y4PI
ในเบื้องต้นเตรียมเอกสารและข้อมูลดังรายละเอียดด้านล่าง ในส่วนของเอกสารอื่นๆที่จะต้องใช้ในการยื่นนั้นรบกวนท่านติดต่อ
พนักงานตรวจแรงงาน (ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.) ค่ะ

โดยเตรียมเอกสารและข้อมูล ดังนี้
   - กรอกแบบฟอร์ม คร.7 (รับแบบฟอร์มที่สำนักงานฯ)
   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของลูกจ้างผู้ร้อง
   - ชื่อนายจ้าง/สถานประกอบกิจการ
   - สถานที่ตั้งของที่ทำงานอย่างชัดเจน และหมายเลขเบอร์โทรศัพท์
   - วันที่ เดือน ปี พ.ศ. ที่เริ่มทำงาน และวันที่ทำงานวันสุดท้าย รวมถึงรายละเอียดสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน
   - พฤติกรรมที่นายจ้างทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่อลูกจ้าง
   - อธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
   - พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

กระบวนการดังกล่าวจะมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 60 วัน
หากมีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ ให้พนักตรวจแรงงานขอขยายเวลาดำเนินการได้ แต่ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน โดยยึดวันที่ยื่นคำร้อง