ลูกจ้างเป็นคนงานกัมพูชา มีสัญญาจ้างงานเป็นสัญญาทำของ มีระยะเวลาการจ้างงานและจ่ายเงินตามจำนวนงานที่ได้และมีเอกสารการเซ็นรับเงิน ต่อมาลูกจ้างได้เข้ามาทำงานและมีอาการหมดสติ บริษัทจึงนำส่งโรงพยาบาล และลูกจ้างได้ทำการเรียกร้องเงินจำนวน 60,000 บาทจากนายจ้าง นายจ้างแจ้งว่าตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลัง หากเกิดจากการทำงานบริษัทยินยอมจ่ายค่ารักษา แต่เมื่อย้อนดูกล้องวงจรปิดกลับพบว่าพนักงานมีการลักทรัพย์นายจ้างเป็นจำนวน 4 ครั้ง และทุกครั้งจะย้อนกลับมาขนย้ายในเวลาหลังเลิกงาน เมื่อพบว่าเป็นเช่นนั้นจึงยุติการจ้างงาน ต่อมาเมื่อลูกจ้างได้เข้ามาที่ออฟฟิศและแจ้งว่าจะกลับเข้ามาทำงาน ทางผู้จัดการจึงแจ้งว่าบริษัทตรวจพบว่าพนักงานมีการลักทรัพย์จึงยุติการจ้างงาน จากเหตุการณืดังกล่าวลูกจ้างจึงเข้าร้องเรียนที่กรมคุ้มครองแรงงานว่าบริษัทไม่จ่ายค่าจ้าง แต่อมาเมื่อบริษัทเข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปากคำและมอบหลักฐานแต่กลับถูกปฏิเสธการรับหลักฐานและแจ้งว่าต้องการใบแจ้งความ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ม.ค 68 ตัวแทนบริษัทพร้อมทนายเข้าพบเจ้าหน้าที่อีกครั้งพร้อมมอบใบแจ้งความ เจ้าหน้าที่รับเอกสารและแจ้งว่าจะนัดพบอีกครั้ง ต่อมาเจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้เข้ามาพบอีกครั้งวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 68 โดยแจ้งว่าได้สอบปากคำผู้ร้องเรียนเพิ่ม ตัวแทนบริษัทจึงเข้าพบและเมื่อพูดคุยตกลงกันไม่ได้ ตัวแทนบริษัทต้องการมอบเอกสารเพื่อประกอบการให้ปากคำแต่ถูกปฏิเสธอีกครั้ง เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะบันทึกในใบนัดพบว่าไม่ประสงค์ให้ปากคำเพิ่ม และจะส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้นายจ้างต้องทำการจ่ายเงินพนักงาน

จาก
ชญาดา ดอกไม้แก้ว

labourqa

เรียน คุณชญาดา ดอกไม้แก้ว ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “ลูกจ้างเป็นคนงานกัมพูชา มีสัญญาจ้างงานเป็นสัญญาทำของ มีระยะเวลาการจ้างงานและจ่ายเงินตามจำนวนงานที่ได้และมีเอกสารการเซ็นรับเงิน ต่อมาลูกจ้างได้เข้ามาทำงานและมีอาการหมดสติ บริษัทจึงนำส่งโรงพยาบาล และลูกจ้างได้ทำการเรียกร้องเงินจำนวน 60,000 บาทจากนายจ้าง นายจ้างแจ้งว่าตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลัง หากเกิดจากการทำงานบริษัทยินยอมจ่ายค่ารักษา แต่เมื่อย้อนดูกล้องวงจรปิดกลับพบว่าพนักงานมีการลักทรัพย์นายจ้างเป็นจำนวน 4 ครั้ง และทุกครั้งจะย้อนกลับมาขนย้ายในเวลาหลังเลิกงาน เมื่อพบว่าเป็นเช่นนั้นจึงยุติการจ้างงาน ต่อมาเมื่อลูกจ้างได้เข้ามาที่ออฟฟิศและแจ้งว่าจะกลับเข้ามาทำงาน ทางผู้จัดการจึงแจ้งว่าบริษัทตรวจพบว่าพนักงานมีการลักทรัพย์จึงยุติการจ้างงาน จากเหตุการณืดังกล่าวลูกจ้างจึงเข้าร้องเรียนที่กรมคุ้มครองแรงงานว่าบริษัทไม่จ่ายค่าจ้าง แต่อมาเมื่อบริษัทเข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปากคำและมอบหลักฐานแต่กลับถูกปฏิเสธการรับหลักฐานและแจ้งว่าต้องการใบแจ้งความ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ม.ค 68 ตัวแทนบริษัทพร้อมทนายเข้าพบเจ้าหน้าที่อีกครั้งพร้อมมอบใบแจ้งความ เจ้าหน้าที่รับเอกสารและแจ้งว่าจะนัดพบอีกครั้ง ต่อมาเจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้เข้ามาพบอีกครั้งวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 68 โดยแจ้งว่าได้สอบปากคำผู้ร้องเรียนเพิ่ม ตัวแทนบริษัทจึงเข้าพบและเมื่อพูดคุยตกลงกันไม่ได้ ตัวแทนบริษัทต้องการมอบเอกสารเพื่อประกอบการให้ปากคำแต่ถูกปฏิเสธอีกครั้ง เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะบันทึกในใบนัดพบว่าไม่ประสงค์ให้ปากคำเพิ่ม และจะส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้นายจ้างต้องทำการจ่ายเงินพนักงาน” นั้น

 

เจ้าหน้าที่จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอตอบคำถามว่ากฎหมายตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 กล่าวไว้ คือ หากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งทางปกครองให้ท่านปฏิบัติตามคำสั่งตาม ม.124 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หากไม่เห็นตามคำสั่งให้ฟ้องเพิกถอนคำสั่งที่ศาลแรงงาน และนำเงินตามคำสั่งไปวางที่ศาลและเข้าสู่กระทวนการศาลต่อไป

มาตรา ๑๒๕ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา ๑๒๔ แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวัน   นับแต่วันทราบคำสั่ง

                    ในกรณีที่นายจ้าง  ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดี      ไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด

                    ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

                     เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย หรือกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ได้จ่ายเงินตามมาตรา ๑๓๔ ได้       แล้วแต่กรณี

 

ดังนั้น หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน