นายจ้างพบ การกระทำความผิด ของลูกจ้าง ในการทุจริตเงินของนายจ้าง โอนออกไปบัญชีของลูกจ้าง มีหลักฐานทาง สเตทเม้นท์ ชัดเจน แต่ภายหลัง ลูกจ้าง ได้ไปร้องต่อกรมแรงงานว่า ไม่ได้รับค่าจ้างตามที่กำหนด เหตุการณ์เช่นนี้ทางกรมแรงงาน จะยังให้ความคุ้มครองและส่งเรื่อง สั่งการให้นายจ้าง จ่ายเงิน ให้ลูกจ้างอีกหรือไม่

ทั้งนี้รายการ โอนเงินจากบัญชีนายจ้างเข้าบัญชีส่วนตัวของลูกจ้างนั้น มีรายการ ที่ นายจ้างคาดว่าเป็นยอดเงิน ที่ รวม ค่าจ้าง ของลูกจ้างอยู่ ในยอดเงินดังกล่าว

เนื่องจากคำกล่าวอ้างของลูกจ้าง อ้างว่าเงินที่โอนเข้าบัญชีส่วนตัว เป็นเงินที่โอนไปเป็นค่าใช้จ่ายตามการทำงานปกติ บริษัท

แต่เอกสารทางการบัญชีที่นายจ้างพิสูจน์ทราบได้ ว่า เป็น ค่าใช้จ่ายที่โอนไป บัญชีลูกจ้างนั้น มีค่าใช้จ่าย ที่ไม่สัมพันธ์ กับยอดเงินที่โอนไป

ซึ่งถ้า มีการรวมยอดเอกสารทางบัญชีในเรื่องรายจ่ายปกติของบริษัท รวมถึงเงินเดือนของลูกจ้าง ที่สมควรได้รับในแต่ละเดือนนั้น เป็นยอดเงินรวม ที่ ไม่สัมพันธ์กับยอดเงินที่โอนออกไป ทั้งนี้ ยอดที่โอนออกไปเป็นยอดที่มากกว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น

อยากทราบว่า ถ้ากรมแรงงาน ได้ข้อมูลแบบนี้จากนายจ้าง จะยังสั่งการให้นายจ้างจ่ายเงินเดือน กับลูกจ้างรายดังกล่าว อยู่หรือไม่

รบกวน ให้คำแนะนำด้วยค่ะ

จาก
ดาด้า

labourqa

เรียน คุณดาด้า ตามที่ท่านปรึกษามาว่า “นายจ้างพบ การกระทำความผิด ของลูกจ้าง ในการทุจริตเงินของนายจ้าง โอนออกไปบัญชีของลูกจ้าง มีหลักฐานทาง สเตทเม้นท์ ชัดเจน แต่ภายหลัง ลูกจ้าง ได้ไปร้องต่อกรมแรงงานว่า ไม่ได้รับค่าจ้างตามที่กำหนด เหตุการณ์เช่นนี้ทางกรมแรงงาน จะยังให้ความคุ้มครองและส่งเรื่อง สั่งการให้นายจ้าง จ่ายเงิน ให้ลูกจ้างอีกหรือไม่ ทั้งนี้รายการ โอนเงินจากบัญชีนายจ้างเข้าบัญชีส่วนตัวของลูกจ้างนั้น มีรายการ ที่ นายจ้างคาดว่าเป็นยอดเงิน ที่ รวม ค่าจ้าง ของลูกจ้างอยู่ ในยอดเงินดังกล่าว เนื่องจากคำกล่าวอ้างของลูกจ้าง อ้างว่าเงินที่โอนเข้าบัญชีส่วนตัว เป็นเงินที่โอนไปเป็นค่าใช้จ่ายตามการทำงานปกติ บริษัท แต่เอกสารทางการบัญชีที่นายจ้างพิสูจน์ทราบได้ ว่า เป็น ค่าใช้จ่ายที่โอนไป บัญชีลูกจ้างนั้น มีค่าใช้จ่าย ที่ไม่สัมพันธ์ กับยอดเงินที่โอนไป ซึ่งถ้า มีการรวมยอดเอกสารทางบัญชีในเรื่องรายจ่ายปกติของบริษัท รวมถึงเงินเดือนของลูกจ้าง ที่สมควรได้รับในแต่ละเดือนนั้น เป็นยอดเงินรวม ที่ ไม่สัมพันธ์กับยอดเงินที่โอนออกไป ทั้งนี้ ยอดที่โอนออกไปเป็นยอดที่มากกว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น อยากทราบว่า ถ้ากรมแรงงาน ได้ข้อมูลแบบนี้จากนายจ้าง จะยังสั่งการให้นายจ้างจ่ายเงินเดือน กับลูกจ้างรายดังกล่าว อยู่หรือไม่ รบกวน ให้คำแนะนำด้วยค่ะ” นั้น

 

เจ้าหน้าที่จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอตอบคำถามว่ากฎหมายตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 กล่าวไว้ คือ 

เรื่องที่ 1 นายจ้างกล่าวอ้างว่าลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้าง ซึ่งเป็นเป็นกฎหมายอาญา ท่านสามารถร้องทุกกล่าวโทษลูกจ้างตามช่องทางที่กฎหมายกำหนด และดำเนินการฟ้องแพ่งเพื่อให้ลูกจ้างจ้างชดใช้เงินดังกล่าวตามสิทธิได้

เรื่องที่ 2 กรณีหากมีการค้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง นั้น เป็นคดีแรงงาน หากลุกจ้างทำงานเมื่อถึงรอบกำหนดการจ่ายแล้ว ลูกจ้างชอบที่จได้รับค่าจ้างตามรอบและวิธีจ่ายปกติ หากเลยกำหนดลูกจ้องชอบที่จะยื่นคำร้องทุกต้อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง พร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดชำระ ร้อยละ 10 ต่อปี ได้

 

หากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งทางปกครองให้ท่านปฏิบัติตามคำสั่งตาม ม.124 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หากไม่เห็นตามคำสั่งให้ฟ้องเพิกถอนคำสั่งที่ศาลแรงงาน และนำเงินตามคำสั่งไปวางที่ศาลและเข้าสู่กระทวนการศาลต่อไป

มาตรา ๑๒๕ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา ๑๒๔ แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวัน   นับแต่วันทราบคำสั่ง

                    ในกรณีที่นายจ้าง  ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดี      ไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด

                    ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

                     เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย หรือกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ได้จ่ายเงินตามมาตรา ๑๓๔ ได้       แล้วแต่กรณี

 

ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นคนละกฎหมายกัน นำมารวมกันไม่ได้

 

ดังนั้น หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หากท่านประสงค์สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ติดต่อได้หลายช่องทาง

1. สายด่วนโทร 1506 กด 3

2. สายด่วน 1546

3. ติดติด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ 

www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ท่านทำงาน หรือจังหวัดของท่าน